วันจันทร์ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2554

อากาศเย็นเป็นสิ่งที่ลูกไก่ไม่ชอบเอาซะเลย อยากรู้ว่าลูกไก่หนาวหรือไม่นั้น สังเกต ไม่ยากหรอกครับ เพียงดูว่าลูกไก่อยู่รวมกันเป็นกลุ่ม หรือกระจายตัวกันอยู่ หากอยู่รวมกันเป็นกลุ่มนั่นแสดงว่าลูกไก่หนาว
      
วิธีที่จะแก้หนาวหาหลอดไฟ(หลอดไส้) ขนาด 25 วัตต์ หนึ่งดวงมาแขวน ไว้ในกรง เพื่อให้ความอบอุ่น แต่ถ้าหากอากาศไม่เย็นหรือเห็นว่าลูกไก่ไม่รวมกลุ่มก็ปิดไฟ ถ้าจะให้ดีหาตัวหรี่ไฟ
มาใช้จะทำให้เราความคุมอุณหภูมิให้เหมาะสมกับช่วงเวลาได้ดีกว่านะครับ และ
กรงสำหรับลูกไก่นั้น ก็ไม่ควรให้โปร่งหรือรับลมนะครับ มันจะได้อุ่นเหมือนอยู่ใน

อาหารสำหรับไก่แจ้

อาหารเม็ดสำเร็จรูป
ผู้เลี้ยงในปัจจุบัน นิยมใช้อาหารสำเร็จรูปอัดเม็ด (Pellet Feed) สำหรับไก่ไข่ในการเลี้ยง โดยจะเลือกใช้ตามขนาดของไก่ 3 ระยะคือ
-ระยะไก่เล็ก อายุ แรกเกิด - 6สัปดาห์
-ระยะไก่รุ่นอายุ 6 สัปดาห์ - 19 สัปดาห์
-ระยะพ่อแม่พันธุ์ 20 สัปดาห์ขึ้นไป (มานิตย์, 2536)
  โดยให้กินตลอดเวลาแบบไม่จำกัดปริมาณ อาหารที่ใช้จะต้องเป็นอาหารที่ใหม่ และสะอาดเสมอ ไก่แจ้กินอาหารในปริมาณที่ไม่มาก เพราะไก่แจ้ตัวเล็ก การลงทุนค่าอาหารจึงต่ำมาก ไก่แจ้หนัก 100 กรัม ให้อาหารเพียง 30 กรัม หรือ 3 % ของน้ำหนักตัว
      
น้ำจะต้องมีให้ไก่กินอย่างเพียงพอตลอดเวลา ถ้าหากไก่ขาดน้ำ จะมีปัญหาสุขภาพอย่างรุนแรง เพราะน้ำจะช่วยระบายความร้อนให้กับร่างกาย น้ำที่ให้ไก่กินต้องสะอาด และเย็น ภาชนะใส่น้ำไม่ควรอยู่ใกล้ไฟกก หรือตั้งตากแดดเพราะจะทำให้น้ำร้อนไก่จะไม่กิน

วัสดุ+อุปกรณ์ในการเลี้ยงไก่แจ้


รางอาหาร

        อุปกรณ์ที่ใช้ในการเลี้ยงไก่แจ้ก็เหมือนกับอุปกรณ์ที่ใช้เลี้ยงไก่ทั่วๆ ไป คือจำเป็นต้องมี รางอาหาร
ที่ตักอาหาร กระปุกน้ำตามขนาดของไก่ กล่องหรือกรงและหลอดไฟแขวนสำหรับลูกไก่และไก่รุ่น
       อุปกรณ์ในในการทำความสะอาดทั่วๆไป เช่น ไม้กวาด ตะแกรงร่อนทราย ฯลฯ ถ้าเลี้ยงไก่จำนวนมากควรมีตู้ฟักไข่ด้วย
         การฟักไข่ มี 2 วิธีคือ การใช้ตู้ฟักไข่ และการให้แม่ไก่ฟัก
       การให้แม่ไก่ฟักจะทำให้แม่ไก่โทรมและใช้เวลานานกว่าที่แม่ไก่จะกลับมาไข่อีก ปัจจุบันนิยมใช้ตู้ฟักไข่ ใช้ระยะเวลาในการฟัก 21 วันเหมือนกับไก่ทั่วๆไป อุณหภูมิที่เหมาะสมประมาณ 99.5 องศาF ความชื้นประมาณ50-60 %

วัสดุรองพื้น


วัสดุรองพื้น

        นักเลี้ยงไก่แจ้นิยมใช้ทรายเป็นวัสดุรองพื้น                                                                                   เพราะง่ายต่อการทำความสะอาด                                                                                                 โดยใช้ตระแกรงหยาบร่อนเอามูลออก และเปลี่ยนเอาทรายทิ้งเมื่อเริ่มเป็นผงละเอียด

การสร้างโรงเรือน

โรงเรือนไก่แจ้(ท้องถิ่น)
       การสร้างโรงเรือนสำหรับเลี้ยงไก่โดยเฉพาะจะมีความจำเป็นมาก เพราะลักษณะของโรงเรือนที่ดีจะทำให้ไก่ไม่เกิดความเครียด เนื่องจากอากาศร้อน ทำให้การเจริญเติบโตดีขึ้น ไก่มีสุขภาพดี ลดปัญหาการเกิดโรค และลดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม
          ลักษณะการสร้างโรงเรือนส่วนใหญ่มี 2 วิธี                                                                                   ขึ้นอยู่กับความนิยมของผู้เลี้ยงเอง คือการสร้างโรงเรือนและการสร้างกรง

         - เนื่องจากธรรมชาติของไก่แจ้เป็นสัตว์ที่ชอบอากาศเย็นสบาย แต่ไม่ชอบลมโกรก โรงเรือนควรมีหลังคาสูงเพื่อการระบายอากาศ มีตาได้
-
การสร้างกรง ข้อมูลในการพิจารณาสำหรับผู้ที่ยังไม่เคยเลี้ยงควรพิจารณา ถึงความต้องการพื้นที่เป็นอันดับแรก เช่น ไก่แจ้หนึ่งชุดประกอบด้วย ตัวผู้ 1 ตัว ตัวเมีย 2 ตัว ควรใช้พื้นที่อย่างน้อย 1 ตารางเมตร ความสูงประมาณ 90 เซนติเมตร
ข่ายและมุ้ง ที่กันลมโกรก และกันยุง

การจัดการลูกไก่เล็ก-ไก่รุ่น

         การกกลูกไก่เล็ก ใช้หลอดไฟกกในกล่องกระดาษแข็ง
หรือลังไม้ กล่องหนึ่งใส่ลูกไก่ไม่ควรเกิน 15 ตัว ให้น้ำและ
อาหาร สำหรับลูกไก่เล็ก วัสดุรองพื้นที่ใช้ในสัปดาห์แรกควร เป็นกระดาษ ในสัปดาห์ที่สองเปลี่ยนเป็นพื้นตะแกรง และเปลี่ยนทำความสะอาดทุกวัน ลูกไก่รุ่นใช้เลี้ยงในกรง บนตระแกรงลวด ไม่ควรเกินกรงละ 5- 10 ตัว ตามขนาดของกรง ขนาดของกรงประมาณ50 x 80 ซ.ม. ขึ้นไป

การจัดการพ่อแม่พันธุ์

        การเลี้ยงไก่แจ้นั้นควรเลี้ยงแยกตามสีอย่างชัดเจน เพื่อป้องกันการผสมข้ามพันธุ์ลูกไก่ที่มีสีตรงตามพันธุ์ จะจำหน่ายได้ราคาดีกว่าเสมอ
         พ่อพันธุ์ที่ใช้ควรมีอายุ 7- 8 เดือน ส่วนแม่พันธุ์ควรเริ่มที่ อายุ 5 เดือนขึ้นไป พ่อพันธุ์สามารถคุมฝูงแม่พันธุ์ได้ 3-4 ตัว ควรเสริมเปลือกหอยป่นในอาหารสำหรับพ่อแม่พันธุ์ เพื่อช่วยให้เปลือกไข่แข็งแรง เก็บไข่ทุกครั้งที่พบ เพื่อป้องกันไม่ให้ไข่สกปรกวัสดุรองพื้น  นักเลี้ยงไก่แจ้นิยมใช้ทรายเป็นวัสดุรองพื้น เพราะง่ายต่อการทำความสะอาด โดยใช้ตระแกรงหยาบร่อนเอามูลออก และเปลี่ยนเอาทรายทิ้งเมื่อเริ่มเป็นผงละเอียด

ขั้นตอนการคัดเลือกไก่แจ้

          ต้องดูเป้าหมายของผู้เลี้ยงว่ามีวัตถุประสงค์หลักอย่างไรบ้าง จะเลี้ยงเพื่อความเพลิดเพลินเลี้ยงเพื่อเตรียมตัวส่งเข้าประกวด หรือเลี้ยงเพื่อเป็นการค้า

              1. เลี้ยงเพื่อความเพลิดเพลินก็จะพิจารณาเลือกไก่ที่มีสายพันธุ์ดี มีลักษณะแข็งแรงจากฟาร์มที่เชื่อถือได้ โดยเลือกสีไก่ตามความชอบของผู้เลี้ยง
              2. เลี้ยงเพื่อเตรียมตัวส่งไก่เข้าประกวด ต้องคัดเลือกไก่โดยพิจารณาตั้งแต่ ความยาวของขา รูปทรง สายพันธุ์ที่ดี มีลักษณะแข็งแรง จากฟาร์มที่เชื่อถือได้
              3. เลี้ยงเพื่อเป็นการค้า
            3.1 ต้องคัดเลือกสีไก่ที่ตรงตามความต้องการของตลาด
3.2
คัดเลือกสีไก่ตรงตามลักษณะของสีนั้นๆ จากฟาร์มที่เชื่อถือได้
3.3
เลือกไก่ทั้งเพศผู้ และเพศเมียที่มีขนาดใกล้เคียงกัน เมื่อไก่เริ่มผสมพันธุ์ได้ จะไม่มีปัญหาในการผสม
3.4
ลักษณะของไก่ตัวผู้ ความยาวของขา ไม่ควรสั้นจนเกินไป
3.5
ไก่ที่เป็นพ่อแม่พันธุ์ต้องมาจากฟาร์มที่ไม่เคยมีการระบาดของโรคที่รุนแรงมาก่อน
3.6
ไก่ต้องได้รับการให้วัคซีนตามโปรแกรมครบถ้วน